TKP HEADLINE

กิจกรรม Walk Rally ศว.ตรัง

 



กิจกรรม Walk Rally  เริ่มจากจุดเริ่มต้นที่กำหนด จากนั้นก็เดินไปตามถนนทางขรุขระ แล้วจึงเดินกลับสู่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคนให้มีจิตสำนึกในการทำงานร่วมกัน มีความสามัคคี ฝึกให้มีความคิดในการทำงานพื้นฐานแห่งความเป็นจริง ด้วยการปฏิบัติและรู้ได้ด้วยตนเอง

เราจะได้อะไรบ้างจากกิจกรรม  Walk Rally

          1.  เสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีต่อกันของทีมงาน

          2.  เพิ่มประสิทธิภาพในการแสดงความคิดเห็น ความคิดสร้างสรรค์ ต่อทีมงาน

          3.  เพิ่มทักษะในการ รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น ยอมรับเหตุผลของกันและกัน

          4.  ปลูกจิตสำนึกในการช่วยเหลือเกื้อกูล ประณีประนอม และการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

          5.  เรียนรู้และเพิ่มทักษะ ขั้นตอน ทัศนคติ และปรัชญาการทำงานเป็นทีม

          6.  พัฒนาการ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า กล้าตัดสินใจ โดยใช้ไหวพริบปฏิภาณ


กิจกรรมศึกษาวังเทพทาโร ศว.ตรัง

 



กิจกรรมศึกษาเทพทาโร  เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดพังงา  ต้นเทพทาโรเป็นไม้หอมที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ จึงสมควรที่จะปลูกสร้างสวนป่าไม้เทพทาโรขึ้นในที่ที่มีความชุ่มชื่นเพียงพอเพราะเทพทาโรจะชอบขึ้นอยู่บนเขาในป่าดงดิบ พบมากที่สุดทางภาคใต้ อาจจะปลูกใต้ร่มไม้อื่นหรือปลูกเป็นไม้แซมสวนป่า น่าจะเจริญเติบโตดีกว่าปลูกเป็นไม้เบิกนาในที่โล่งแจ้งถือเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์แดนใต้ของไทย ในอดีตจะขึ้นอยู่มากตามป่าดงดิบ ทว่า เมื่อความเจริญรุดเข้ามา ต้นเทพทาโรถูกโค่นทิ้งจำนวนมาก เพื่อใช้พื้นที่ปลูกยางพาราและสร้างบ้านเรือนทดแทน เหลือเพียงตอและรากฝังอยู่ใต้ดิน      วังเทพทาโรหรือวังมังกร 88 ตัว จังหวัดตรัง คือ งานศิลปะจากเศษไม้และรากไม้เทพทาโร  ที่ถูกสร้างขึ้นมาให้มีชีวิตในแต่ละวันบนเนื้อที่กว่า 25 ไร่  เป็นที่ตั้งของวังมังกรงานศิลปะที่นายจรูญ  แก้วละเอียด เนรมิตนำเอาเศษซากไม้และรากไม้เทพทาโร หรือ ไม้จวง มาสร้างเป็นมังกรหลายขนาด  โดยการนำซากไม้มาสร้างมังกรตั้งแต่ตัวแรกจนถึงตัวที่ 88 โดยมังกรตัวที่ 87 เป็นมังกรแม่คือมังกรน้ำให้น้ำกับโลกมนุษย์ เพื่อไม่ให้เกิดภัยแล้ง ไม่ให้เกิดอุกภัย ส่วนมังกรตัวที่ 88 เป็นมังกรเพศผู้ เป็นมังกรไม้ที่สร้างที่ขึ้นใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้ มังกรตัวนี้ บ่งบอกถึงพลังอำนาจของแผ่นดิน


กิจกรรมของเล่นวิทยาศาสตร์ Science Toy ศว.ตรัง

 


กิจกรรมของเล่นวิทยาศาสตร์ Science Toy    ของเล่น  หมายถึง  วัตถุใดๆ ที่สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินให้กับผู้เล่น ส่วนของเล่นทางวิทยาศาสตร์ หมายถึงของเล่นใดๆ ที่นอกจากจะสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินให้แก่ผู้เล่นแล้วยังสามารถสอนแนวคิดหลักการทางวิทยาศาสตร์ ความจริง เจตคติ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วย 



กิจกรรมศึกษาบ่อน้ำร้อน ศว.ตรัง





 กิจกรรมศึกษาบ่อน้ำร้อน

บริเวณพื้นที่พรุน้ำร้อนและพื้นที่ป่าดงดิบได้พัฒนาปรับปรุงเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติพรรณไม้และสัตว์ป่า จำนวน 3 เส้นทาง ระยะทาง 500 เมตร 750 เมตร และ 2,000 เมตร ตามลำดับ ใช้ประโยชน์ด้านการศึกษาวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ สันทนาการและการท่องเที่ยวอยู่ในท้องที่บ้านควนแคง หมู่ที 7 ตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตังจังหวัดตรัง อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลว ป่าควนแคงและป่าน้ำราบ มีเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ ซึ่งกรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549

กิจกรรมนักสืบชายหาด ศว.ตรัง

 



กิจกรรมนักสืบชายหาด  คือ  ผู้สำรวจปริศนาและความเป็นไปในหาดท้องถิ่น  เพื่อบอกเล่าให้สังคมได้รู้ว่าเราควรจะจัดการและดูแลพื้นที่ชายหาดอย่างไร

ชายหาด คือ พื้นที่ระหว่างแนวน้ำขึ้นกับน้ำลง มีลักษณะเป็นแถบยาวไปตามริมฝั่ง เกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำของคลื่นและกระแสน้ำในทะเล หรือทะเลสาบ หรือแม่น้ำ ขนาดพื้นที่่ของชายหาดนี้จะขึ้นอยู่กับการขึ้นลงของกระแสน้ำและความลาดชันของพื้นที่ ถ้าความลาดชันของพื้นที่มีน้อยและระดับของกระแสน้ำขึ้นสูงสุดและลงต่ำสุดต่างกันมาก ชายหาดนี้ก็จะมีพื้นที่มาก ในทางตรงกันข้ามถ้าตัวหาดมีความชันมากและระดับของกระแสน้ำขึ้นสูงสุด และลงต่ำสุดต่างกันน้อยจะทำให้พื้นที่ของชายหาดนั้นแคบและมีพื้นที่น้อยตามกันด้วย




กิจกรรมนักสืบชายเลน ศว.ตรัง

 




กิจกรรมนักป่าชายเลน (Mangrove  forest)  คือ  ระบบนิเวศที่ประกอบไปด้วยพันธุ์พืช  พันธุ์สัตว์  หลายชนิด  ดำรงชีวิตร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่เป็นดินเลน  น้ำกร่อย  และมีน้ำทะเลท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ  ดังนั้นจึงพบป่าชายเลนปรากฏอยู่ทั่วไปตามบริเวณที่เป็นชายฝั่งทะเล  ปากแม่น้ำ  ทะเลสาบ  และรอบเกาะแก่งต่างๆ  ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล  พันธุ์ไม้ที่มีมากและมีบทบาทสำคัญที่สุดในป่าชายเลน    คือ  ไม้โกงกาง  ป่าชายเลนจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ป่าโกงกาง

กิจกรรมเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ศว.ตรัง

 





กิจกรรมเดินป่าศึกษาธรรมชาติลักษณะของสังคมพืชในสวนพฤกษศาสตร์สากลภาคใต้ (ทุ่งค่าย) จังหวัดตรัง สามารถแบ่งเป็นป่าชนิดต่างๆได้เป็น 2 แบบ คือ

1. ป่าดิบชื้น ( Moist evergreen forest)  ปกคลุมบริเวณตรงกลางของพื้นที่ซึ่งมีพื้นที่ปกคลุมร้อยละ 61.5 ป่าดิบชื้นเป็นป่าไม่ผลัดใบมีดินร่วนระบายน้ำดี ไม้มีขนาดใหญ่มีไม้เด่นได้แก่ ไม้ตระกูลวงศ์ยาง เช่น ยางมันหมู  กระบาก เคี่ยม

2. ป่าพรุ (Peat swamp forest) มีพื้นที่ทั้งหมด ร้อยละ 76 ของพื้นที่ เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำขังประกอบไปด้วยซากพืชซากสัตว์และอินทรียวัตถุกองรวมกันจะมีน้ำขังตลอดน้ำไหลเอื่อยและมีระบบรารากไม้ชนิดต่างๆ เช่นระบบรากพูพอน  ระบบรากหายใจ  ระบบรากหัวเข่าและระบบรากค้ำจุน





กิจกรรมสีสันบนลานผ้า ศว.ตรัง



กิจกรรมสีสันบนลานผ้า การย้อมผ้าด้วยวิธีมัดย้อมด้วยสีที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เป็นการนำความรู้และภูมิปัญญาชาวบ้านที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น อันเป็นวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับชุมชน เช่น เดียวกับการย้อมฮ่อมของภาคเหนือ  วัสดุที่นิยมนำมาใช้ทำสีย้อมผ้าธรรมชาติจะเป็นส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ เช่น เปลือก ใบ แก่น ราก และผล ซึ่งจะให้สีสันที่แตกต่างกันไป

การทำผ้ามัดย้อม มีหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง  เช่น  การนำส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้มาสกัดสีเพื่อให้ได้สีตามที่ต้องการ  นอกจากนั้นยังมีหลักการปรับค่าความเป็นกรด-เบส ที่ส่งผลต่อความคงทนของสีที่ย้อมแตกต่างกัน  รวมถึงการเลือกใช้ผ้าชนิดต่าง ๆ เพื่อให้ได้ลวดลายสวยงามตามความต้องการ

นิทรรศการเทคโนโลยีอวกาศและดาราศาสตร์ ศว.ตรัง

 




นิทรรศการเทคโนโลยีอวกาศและดาราศาสตร์ 

แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศ  เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง พร้อมกับมีเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำเพิ่มเติม  โดยแบ่งนิทรรศการทั้งหมดในรูปแบบโซนต่างๆ ได้แก่ โซนพระบิดาวิทยาศาสตร์ไทย โซนระบบสุริยะ โซนการศึกษาทางดาราศาสตร์  โซนการสังเกตกลุ่มดาวบนท้องฟ้า  โซนการเกิดน้ำขึ้น-น้ำลง โซนการเกิดฤดูกาล และโซนเทคโนโลยีอวกาศ




นิทรรศการสึนามิ ศว.ตรัง

 





นิทรรศการสึนามิ เป็นแบบจำลอง สึนามืชิขนาดเล็ก เพื่อให้ได้รับความรู้เรื่องคลื่น แลนิทรรศการสึนามิ เป็นแบบจำลอง สึนามืชิขนาดเล็ก เพื่อให้ได้รับความรู้เรื่องคลื่น และอุทกภัยที่เกิดคลื่น ได้รู้จักกับแผ่นดินไหว 

ระดับความรุนแรง อีกทั้งยังได้รับ ความสนุกจากเครื่องเล่นการสั่นไหวต่างระดับและเสียงเตือนภัยอีกด้วยะอุทกภัยที่เกิดคลื่น ได้รู้จักกับแผ่นดินไหว 

ระดับความรุนแรง อีกทั้งยังได้รับ ความสนุกจากเครื่องเล่นการสั่นไหวต่างระดับและเสียงเตือนภัยอีกด้วย




กิจกรรมนักสืบสายน้ำ ศว.ตรัง

 




โลกของเราประกอบขึ้นด้วยพื้นดินและพื้นน้ำ โดยส่วนที่เป็นผืนน้ำนั้น มีอยู่ประมาณ 3 ส่วน (75%) และเป็นพื้นดิน 1 ส่วน (25%) น้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งกับชีวิตของพืชและสัตว์บนโลกรวมทั้งมนุษย์เราด้วยน้ำเป็นทรัพยากรที่สามารถเกิดหมุนเวียนได้เรื่อยๆ ไม่มีวันหมดสิ้น เมื่อแสงแดดส่องมาบนพื้นโลก น้ำจากทะเลและมหาสมุทรก็จะระเหยเป็นไอน้ำลอยขึ้นสู่เบื้องบนเนื่องจากไอน้ำมีความเบากว่าอากาศ เมื่อไอน้ำลอยสู่เบื้องบนแล้ว จะได้รับความเย็นและกลั่นตัวกลายเป็นละอองน้ำเล็กๆ ลอยจับตัวกันเป็นกลุ่มเมฆ เมื่อจับตัวกันมากขึ้นและกระทบความเย็นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นโลก น้ำบนพื้นโลกจะระเหยกลายเป็นไอน้ำอีกเมื่อได้รับความร้อนจากด้วงอาทิตย์ ไอน้ำจะรวมตัวกันเป็นเมฆและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำกระบวนการเช่นนี้ เกิดขึ้นเป็นวัฎจักรหมุนเวียนต่อเนื่องกันตลอดเวลาเรียกว่า วัฏจักรน้ำทำให้มีน้ำเกิดขึ้นบนผิวโลกอยู่สม่ำเสมอ

          น้ำ คือสารอาหารที่สำคัญที่สุดของร่างกาย เพราะว่า4/5 ส่วนของน้ำหนักตัวก็คือน้ำ มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้หลายสัปดาห์หากขาดอาหารแต่จะอยู่ได้เพียงไม่กี่วันหากขาดน้ำโดยน้ำทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายหลักสำหรับอาหารที่ผ่านกระบวนการย่อยในกระเพาะ




กิจกรรมดาราศาสตร์ ศว.ตรัง

 


ดาราศาสตร์ คือวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเอกภพ ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่สามารถสังเกตได้ และกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับดวงดาว และเทหวัตถุบนท้องฟ้าเอกภพ Universe (จักรวาล) คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ หรือเคยมีอยู่ในทุกที่ทุกแห่ง เช่น โลก ดวงอาทิตย์กาแลกซี่ รวมทั้งที่ว่าง หรืออวกาศจักรวาลนั้น มีวิวัฒนาการ เอกภพและสิ่งต่างๆที่อยู่ภายในเอกภพ เปลี่ยนแปลง ตามกาล- เวลา 

ระบบสุริยะ คือ ระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ  เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต  สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite)


การจัดแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) ศว.ตรัง

      



 การจัดแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show) เป็นการจัดแสดงเพื่ออธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายเรื่องควบคู่กันไป โดยอาศัยวิธีการทดลอง สาธิต สร้างสถานการณ์ให้เห็นเด่นชัดโดยเน้นความตื่นเต้นเร้าใจน่าทึ่ง สนุกสนานเพลิดเพลิน กระตุ้นให้ผู้ชมเกิดความอยากรู้อยากเห็น จนนำไปสู่ความเข้าใจหลักการและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง สามารถคิดเชื่อมโยงเข้ากับเหตุการณ์ หรือกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ และสุดท้ายสามารถสรุป หรือคิดค้นดัดแปลงให้เกิดรูปแบบหรือวิธีการใหม่ๆ เกิดขึ้นเป็นทฤษฎีของตนเอง 

                                    

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนกลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand