TKP HEADLINE

กิจกรรมวัสดุศาสตร์ ศว.ตรัง


    กิจกรรมวัสดุศาสตร์ คือ การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวัสดุ เป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่ออธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบพื้นฐานของวัสดุ และสมบัติของวัสดุ 
วัสดุศาสตร์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
    1 โลหะ (Metallic materials)
2 พลาสติก หรือ พอลิเมอร์ (Polymeric materials)
3 เซรามิกส์ (Ceramic materials) 
    4 วัสดุผสม (Composite materials)

กิจกรรมเทคโนโลยีอวกาศ ศว.ตรัง

 

    เทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology) หมายถึง การนำองค์ความรู้ วิธีการ และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาดาราศาสตร์และห้วงอวกาศที่อยู่นอกเหนืออาณาเขตของโลกอย่างเหมาะสม ทั้งเพื่อการเรียนรู้และการทำความเข้าใจต่อจักรวาล ปรากฏการณ์ และดวงดาวต่าง ๆ ยังรวมไปถึงการศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ 

กิจกรรมทดสอบสารอาหาร ศว.ตรัง

    กิจกรรมทดสอบสารอาหาร  สิ่งมีชีวิตทุกชนิดดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยพลังงาน  พืชสร้างอาหารได้เองโดยกระบวนการสังเคราะห์แสง  ส่วนคนและสัตว์สร้างอาหารเองไม่ได้ แต่ได้รับสารอาหารต่างๆ จากการกินพืชและสัตว์ การกินอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน  ได้สัดส่วน เหมาะสมกับเพศและวัย และสภาพร่างกาย ที่สำคัญคือกินอาหารที่สะอาด  ปลอดภัย  จากสารตกค้างที่เป็นอันตราย  และสารปนเปื้อนของจุลินทรีย์  ทำให้ระบบต่างๆของร่างกายทำงานได้อย่างปกติ  ส่งผลให้สุขภาพแข็งแรง


    อาหาร (food) คือ สิ่งที่รับประทานเข้าไปแล้ว  ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย  และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง  มีความต้านทานโรค  อาหารของคนมีหลากหลายชนิด  ทั้งที่เป็นอาหารสด  อาหารแห้ง  หรืออาหารแปรรูป  เช่น ข้าว  ก๋วยเตี๋ยว  ไข่  ขนมปัง  เป็นต้น อาหารแต่ละชนิดประกอบด้วยสารอาหารหลายอย่าง

สารอาหาร (nutrient) คือสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของอาหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.       สารอาหารที่ให้พลังงาน  ได้แก่  โปรตีน  ไขมัน  คาร์โบไฮเดรต

2.       สารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน  ได้แก่  วิตามิน  แร่ธาตุ และน้ำ

กิจกรรมถอดรหัส DNA ศว.ตรัง

    

    กิจกรรมถอดรหัส DNA  ดีเอ็นเอ (DNA)  เป็นชื่อย่อของสารพันธุกรรม มีชื่อแบบเต็มว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก  (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิก (กรดที่พบในใจกลางของเซลล์ทุกชนิด) ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน (Haman), สัตว์ (Animal), พืช (Plant), เชื้อรา (Fungi), แบคทีเรีย (bacteria), ไวรัส (virus) (ไวรัส จะไม่ถูกเรียกว่าสิ่งมีชีวิตเป็นเพียงอนุภาคเท่านั้น) เป็นต้น ดีเอ็นเอ (DNA) บรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไว้ ซึ่งมีลักษณะที่ผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ พ่อและแม่ (Parent) และสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือ ลูกหลาน (Offspring)

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนกลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand